วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การป้องกันตัวแบบ"มวยไชยา"



มวยไชยา เป็นมวยไทยโบราณของภูมิปัญญาไทย บรรพบุรุษไทย


กษัตริย์ไทยที่สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน เพื่อสืบสานต่อไปใน


อนาคตที่ยั่งยืน มวยไชยาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ ยุคเริ่มต้น


กำเนิดขึ้นจากพ่อท่านมา หรือหลวงพ่อมาอดีตนายทหารจากพระนคร


สมัยรัชกาลที่ 3 ฝึกมวยให้กับชาวเมืองไชยา ยุคเฟื่องฟูในช่วงรัช


สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระเจ้า


บรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช จากนั้นได้พระราชทาน


บรรดาศักดิ์ แก่นักมวยจากเมืองไชยา คือ นายปรง เป็นหมื่นมวยมีชื่อ




ตำแหน่งกรรมการพิเศษ เมืองไชยา ถือศักดินา 300 ยุคเปลี่ยนแปลง


ในช่วงรัชสมัยพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่


9 เกิดขึ้นเพราะต้องรื้อเวที และพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) เจ้า


อาวาสเจ้าอาวาสวัดไชยามรณภาพลง


มวยไทยไชยาจึงสิ้นสุดลงด้วยยุคอนุรักษ์หลังจากสิ้นสุดสมัยพระครู


โสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) มวยไทยไชยาเริ่มเลือนหายไปจากความ


ทรงจำของชาวไชยา อย่างไรก็ตามยังมีผู้ที่เคยเรียนมวยไทยไชยา


แล้วนำมาสืบทอดต่ออีกหลายท่าน เช่น ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย


นายทองหล่อ ยา และนายอมรกฤต ประมวล นายกฤษดา สด




ประเสริฐ นายอเล็กซ์ สุย และพันเอก อำนาจ พุกศรีสุข เป็นต้น


เอกลักษณ์ของมวยไชยา




เอกลักษณ์ของมวยไชยา พบว่ามีอยู่ 7 ด้าน คือ การตั้งท่ามวยหรือ


การจดมวย ท่าครูหรือ ท่าย่างสามขุม การไหว้ครูร่ายรำ การพันมือ


แบบคาดเชือก การแต่งกาย การฝึกซ้อมมวยไชยาและแม่ไม้มวย


ไชยา กระบวนท่ามวยไชยามีทั้งหมด 5 ชุด คือ แม่ไม้มวยไทยไชยา


7 ท่า ได้แก่ ปั้นหมัด พันแขน พันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิก


เหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม ท่าที่สำคัญคือท่า เสือลากหาง


เคล็ดมวยไชยาที่ใช้ป้องกันได้ดีที่สุดคือ ป้อง ปัด ปิด เปิด (จัตุชัย


จำปาหอม, 2550)http://muaythaionlines.blogspot.com/2012/04/blog-post_4424.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม