วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ยูโด


ยิวยิตสู

ในประเทศญี่ปุ่นสมัยโบราณ ซึ่งเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ ประชากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอจังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา ในสมัยนั้นประเทศญี่ปุ่น มีแต่การทำสงคราม นักรบของแต่ละเมืองจะได้รับการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ในสงครามหลายชนิด เช่น การฟันดาบ การยิงธนู การใช้หอก ทวน หลาว การขี่ม้า และ|ยิวยิตสู ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ใช้มือเปล่าในระยะประชิดตัว ไม่สามารถที่จะใช้อาวุธได้ถนัด การต่อสู้แบบยิวยิตสูมิได้มุ่งที่จะทำให้คู่ต่อสู้มีอันตรายถึงชีวิต แต่มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บและยอมแพ้ ถ้าไม่ยอมแพ้ก็อาจทำให้พิการทุพพลภาพ โดยใช้วิธีจับมือหักข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
นักรบญี่ปุ่นในสมัยนั้นจะต้องฝึกการต่อสู้วิชายิวยิตสูทุกคน และต้องฝึกสมาธิควบคู่ไปด้วย ทุกคนจะต้องมีความตั้งใจในการฝึก มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายได้ การทำร้ายคู่ต่อสู้ ด้วย ยิวยิตสูไม่คำนึงถึงความเมตตาและศีลธรรม และใช้เทคนิคคอยหาโอกาสซ้ำเติมคู่ต่อสู้ตลอดเวลา จึงทำให้อาจารย์ที่ตั้งสถานที่ฝึกอบรมวิชานี้ พยายามคิดค้นประดิษฐ์ท่าทางกลวิธีแตกต่างกันออกไปอย่างอิสระ สถานที่เปิดฝึกสอนหรือที่เรียกว่าโรงเรียนสำหรับสอนวิชายิวยิตสูสมัยนั้นมีประมาณ 20 แห่ง
ส่วนการต่อสู้อีกประเภทหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชายูโดคือ ซูโม่ ซึ่งเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย ซูโม่เป็นการต่อสู้ของคน 2 คน ใช้มือเปล่าและกำลังกายเข้าทำการต่อสู้กันมาแต่สมัยโบราณกว่า 2,500 ปีมาแล้ว นักประวัติศาสตร์ในวิชายิวยิตสูได้สนใจซูโม่มาก จากหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ที่รวบรวมโดย Imperial Command ชื่อ "นิฮงโชะกิ" ในปี พ.ศ. 1263 กล่าวถึงการแข่งขันในสมัยของจักรพรรด์ซุยนิน ก่อนคริสต์ศักราช 230 ปี (พ.ศ. 313) ยืนยันว่าเป็นการเริ่มต้นของวิชาซูโม่ ซึ่งแปลว่าการต่อสู้โดยใช้กำลังเข้าประลองกัน การต่อสู้ตามหลักวิชาซูโม่ บางท่าจะตรงกับวิชายิวยิตสู เช่น การใช้สะโพกเป็นกำลังบังคับขากวาดเหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้เสียหลักล้มลงซึ่งท่านี้วิชายิวยิตสูเรียกว่า ฮาราย กุชิ (Harai Goshi) เป็นการยืนยันว่าวิชาซูโม่มีความสัมพันธ์กับวิชายิวยิตสู

[แก้]

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การป้องกันตัวด้วยมือเปล่า


จุดอ่อนในร่างกายมนุษย์

หากท่านต้องการจะหยุดคนร้าย ด้วยการโจมตี ไปบนร่างกายคนร้าย หากไม่ถูกจุดอ่อน ต่อให้ท่านเพิ่มกำลังเป็น 2 เท่าก็ยากที่จะหยุด คนร้ายได้ การจะหยุดคนร้ายให้ได้ผลนั้น ท่านจำต้องรู้จุดอ่อนในร่างกายคนเรา ซึ่งไม่ต้องลึกซึ้งขนาดผู้ฝึกศิลปะป้องกันตัวอย่างจริงจัง ก็เพียงพอแล้ว ในการป้องกันตัวท่านเอง
บริเวณศีรษะ มีจุดอ่อนมากมาย จุดที่สำคัญคือ ดวงตา หู จมูก ขมับ ท้ายทอย ปลายคาง ซึ่งเราสามารถใช้นิ้วจิ้มหรือ ใช้หมัดชก ส่วนปลายคางนั้น ใช้อุ้งมือกระแทก บ้องหู เราอาจใช้มือตบ ซึ่งถ้าโจมตีโดนด้วยความแรง จะสามารถหยุดคนร้ายได้
บริเวณลำคอ เราสามรถใช้ปลายนิ้วจิ้ม ใช้หมัดต่อย หรือใช้สันมือสับ ไปที่ลูกกระเดือกได้
ลิ้นปี่ ชก เตะ หรือถีบ
อวัยวะสืบพันธุ์ชาย
จุดอื่นๆ ตามสถานการณ์จะอำนวย เช่น ไหปลาร้า หัวเข่า เป็นต้น




วิธีป้องกันตัวด้วยมือเปล่า











เมื่อเราหนีไม่ได้ หรือ ไม่มีทางที่จะหนี จำเป็นต้องสู้ ก็ให้ตั้งสติ อย่าตื่นตกใจมากไป หายใจเข้าออกลึกๆ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการป้องกันตัวจากคนร้ายมือเปล่า ผู้ที่จ้องทำร้ายผู้อื่นเพราะเห็นว่าผู้อื่นไม่มีทางสู้ มักจะประมาทไม่ระวังตัว นับเป็นโอกาสที่ดีในการเอาตัวรอดของคุณ

การป้องกันตัวแบบ" มวยโบราณ"



“มวย เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เป็นการต่อสู้ด้วยพละกำลัง ใช้

อวัยวะเกือบทุกส่วนของร่างกาย ทั้งมือ เท้า เข่า ศอก รวมทั้งหัวด้วย

มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแล้ว ในสมัยก่อนนิยม

ฝึกหัดกันในหมู่นักรบโบราณ เป็นที่นิยมชมชอบของชนทุกชั้น แม้แต่

พระเจ้าแผ่นดินก็มีปรากฏในพงศาวดาร ครั้งกรุงศรีอยุธยา ขุนหล

วงสรศักดิ์ หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในนาม พระเจ้าเสือ ทรงนิยมชมชอบมวยมาก ถึงกับปลอมพระองค์ไปชกมวยตามหัวเมืองบ่อยครั้ง”


ข้อความเบื้องต้นมาจากหนังสือเชิดชูเกียรติ อาจารย์จำลอง นวลมณี (เป็นครูมวยโบราณของสกลนคร เป็นผู้ที่สืบสานศิลปะการร่ายรำมวยโบราณ) ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ อาจารย์จำลอง นวลมณีได้เล่าไว้อย่างน่าสนใจมาก คือ…. เมื่อปี พ.ศ.2331 เป็นปีที่ 7 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีนักมวยฝรั่งสองพี่น้อง ล่องเรือกำปั่นท้าพนันชกมวยมาหลายหัวเมือง และชกชนะมาทั้งสิ้น ครั้นมาถึงกรุงเทพฯ ก็มาท้าพนันชกมวยกับคนไทย พระยาพระคลัง กราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงทราบ จึงรับสั่งให้รับท้าพนัน วางเดิมพันเป็นเงิน 50 ชั่ง หรือ 4,000 บาท (สมัยนั้นก็มากแล้ว) สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทราชอนุชา จึงจัดหานักมวย ชื่อ หมื่นผลาญ ซึ่งมีความรู้ทั้งมวยต่อยและมวยปล้ำและดำรัสให้ปลูกพลับพลาใกล้โรงละครด้านทิศตะวันตกของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อประทับทอดพระเนตร ผลการชกปรากฏว่า นักมวยฝรั่งแพ้ไม้เป็นท่า เป็นที่น่าอับอายมาก


นางศาสตร์ พรหมสาขา ณ สกลนคร ได้เขียนไว้ในหนังสือเชิดชูเกียรติ อาจารย์จำลอง นวลมณี ว่า
“ในสมัย 50 ปีมาแล้ว จะมีงานแห่ต่างๆ โดยเฉพาะงานประเพณีที่เรียกว่า งานบุญพระเวส ชาวสกลนคร 10 คุ้ม ก็มีการแห่กัณฑ์เทศน์ และแห่บั้งไฟไปตามถนสายต่างๆ เพื่อทอดถวายองค์พระธาตุเชิงชุมโดยมีคณะนักมวยรำมวยออกหน้า มีปี่ ฆ้อง กลองประโคม เป็นเครื่องประกอบ เมื่อขบวนไปพบกันจะไม่มีใครหลีกทางให้กัน จึงมีการต่อสู้กันขึ้น”


ดังนั้น มวยโบราณจึงเป็นการต่อสู้ด้วยมือ เท้า เข่า ศอก มีมาก่อนมวยคาดเชือก (มวยคาดเชือกใช้ผ้าดิบ หรือบางครั้งใช้เชือกพันมือ สันนิษฐานว่า มีขึ้นในสมัยอยุธยา)
พ.ศ.2472 เป็นปีที่เกิดเหตุการณ์เศร้าสลดใจเกิดขึ้น เมื่อนายเจีย แขกเขมร ขอขึ้นทาบรัศมีกับ นายแพ เสียงประเสริฐ และผลการต่อสู้ในครั้งนั้น นายเจีย ถูกนายแพ ต่อยถึงแก่ความตายที่สนามมวย หลักเมือง ของพลโท พระยาเทพหัสดิน ตั้งแต่นั้นมวยคาดเชือกจึงต้องเลิกไป


http://ที่นี่ประเพณีไทย.blogspot.com

การป้องกันตัวแบบ"มวยไชยา"



มวยไชยา เป็นมวยไทยโบราณของภูมิปัญญาไทย บรรพบุรุษไทย


กษัตริย์ไทยที่สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน เพื่อสืบสานต่อไปใน


อนาคตที่ยั่งยืน มวยไชยาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ ยุคเริ่มต้น


กำเนิดขึ้นจากพ่อท่านมา หรือหลวงพ่อมาอดีตนายทหารจากพระนคร


สมัยรัชกาลที่ 3 ฝึกมวยให้กับชาวเมืองไชยา ยุคเฟื่องฟูในช่วงรัช


สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระเจ้า


บรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช จากนั้นได้พระราชทาน


บรรดาศักดิ์ แก่นักมวยจากเมืองไชยา คือ นายปรง เป็นหมื่นมวยมีชื่อ




ตำแหน่งกรรมการพิเศษ เมืองไชยา ถือศักดินา 300 ยุคเปลี่ยนแปลง


ในช่วงรัชสมัยพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่


9 เกิดขึ้นเพราะต้องรื้อเวที และพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) เจ้า


อาวาสเจ้าอาวาสวัดไชยามรณภาพลง


มวยไทยไชยาจึงสิ้นสุดลงด้วยยุคอนุรักษ์หลังจากสิ้นสุดสมัยพระครู


โสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) มวยไทยไชยาเริ่มเลือนหายไปจากความ


ทรงจำของชาวไชยา อย่างไรก็ตามยังมีผู้ที่เคยเรียนมวยไทยไชยา


แล้วนำมาสืบทอดต่ออีกหลายท่าน เช่น ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย


นายทองหล่อ ยา และนายอมรกฤต ประมวล นายกฤษดา สด




ประเสริฐ นายอเล็กซ์ สุย และพันเอก อำนาจ พุกศรีสุข เป็นต้น


เอกลักษณ์ของมวยไชยา




เอกลักษณ์ของมวยไชยา พบว่ามีอยู่ 7 ด้าน คือ การตั้งท่ามวยหรือ


การจดมวย ท่าครูหรือ ท่าย่างสามขุม การไหว้ครูร่ายรำ การพันมือ


แบบคาดเชือก การแต่งกาย การฝึกซ้อมมวยไชยาและแม่ไม้มวย


ไชยา กระบวนท่ามวยไชยามีทั้งหมด 5 ชุด คือ แม่ไม้มวยไทยไชยา


7 ท่า ได้แก่ ปั้นหมัด พันแขน พันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิก


เหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม ท่าที่สำคัญคือท่า เสือลากหาง


เคล็ดมวยไชยาที่ใช้ป้องกันได้ดีที่สุดคือ ป้อง ปัด ปิด เปิด (จัตุชัย


จำปาหอม, 2550)http://muaythaionlines.blogspot.com/2012/04/blog-post_4424.html

การป้องกันแบบ"คาลาเต้"



คาราเต้ หรือ คาราเต้โด เป็นศิลปะการต่อสู้ถือกำเนิดที่โอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เป็นการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ของชาวโอกินาวาและชาวจีน คาราเต้ได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) เมื่อชาวโอกินาวาอพยพเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น

คาราเต้มักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นการต่อสู้ด้วยการฟันอิฐ แต่ที่จริงแล้ว คือการต่อสู้ด้วยการใช้อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น กำปั้น เท้า สันมือ นิ้ว ศอก เป็นต้น แต่เมื่อถูกดัดแปลงเป็นกีฬาแล้วเหลือเพียงมือและเท้า




ประวัติ

สมัยคริสตศตวรรษที่ 14 โอกินาวาได้มีการติดต่อการค้ากับทางจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีมานานมากตั้งแต่สมัยอดีต ในขณะนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม วิชาการความรู้แขนงต่างๆ รวมถึงศิลปะการป้องกันตัว โอกินาวาได้มีศิลปะการต่อสู้ประจำอยู่แล้ว และได้ผสมผสานกับทักษะที่ได้รับมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งก็คือมวยใต้ และเส้าหลินใต้ในฟูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) แล้วพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมา จนสามารถเรียกว่าเป็นต้นกำเนิดของคาร าเต้ โดยโอกินาวาจะเรียกศิลปะป้องกันตัวของตนเองว่า โทเต้ (Tode) ในภาษาโอกินาวา (หรือในภาษาญี่ปุ่นจะเรียก โอกินาวาเต้)

http://www.sakuradojo-th.com/c908.html

การป้องกันตัวแบบ"เทควันโด"

เทควันโดเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว โดยไม่ใช้อาวุธของ ชาวเกาหลี คำว่า เท แปลว่า เท้า หรือการโจมตีด้วยเท้า ควอน แปลว่า มือ หรือการโจมตีด้วยมือ โด แปลว่า วิถีหรือสติปัญญา ดังนั้นเทควันโดโดยทั่วไป หมายถึง วิถีแห่งการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัว หรือการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัวอย่างมีสติ


จากประวัติศาสตร์ซึ่งเผยแพร่ในช่วงแรกนั้น ศิลปะการป้องกันตัวของประเทศเกาหลี มีมาตั้งแต่ 2 พันกว่าปี ในปี ค.ศ. 1955 องค์กรพิเศษได้ถูก จัดตั้งขึ้นในนามขององค์การควบคุมศิลปะแห่งชาติ ถูกตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่และควบคุมทำการสอนให้แก่สาธารณชน องค์กรทางทหารซึ่งขึ้นอยู่กับเงินทุนกองกลางที่มีสามชิกขององค์กร เป็นผู้ที่มีความคิดความสามารถที่เชี่ยวชาญ กลุ่มสมาชิกได้รวมตัวกัน โดยมีนายพลเช ฮอง ฮี Choi Hong Hi เป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า เทควันโด (Taekwondo) มีที่มาจาก เท (เทคียน: Takkyon) และ ควัน (คองซูโด: Kongsoodo)

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม